SSL คืออะไร ความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เว็บไซต์ขององค์กรหรือเว็บไซต์บริษัท ทำอย่างไรให้ผู้เยี่ยมชมที่ท่องในโลกอินเทอร์เน็ตมั่นใจว่า เว็บไซต์ของคุณมีความปลอดภัยในการรับส่งข้อมูลและไม่เป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งาน
หลายคนคงจะคุ้นเคยกับ https:// ที่ขึ้นอยู่ทางซ้ายมือบนช่อง URL Address Bar เป็นประจำ แม้ว่าเราจะไม่ได้พิมพ์ https:// เองก็ตาม เช่น
https://www.google.com/ ,
https://www.facebook.com/ และเว็บไซต์อื่นๆ ที่ต้องการความน่าเชื่อถือและความปลอดภัย รวมถึงเว็บไซต์ของเรา
https://www.vsm365.com/ ด้วย
HTTPS คืออะไร
HTTPS หรือ Hypertext Transfer Protocol Secure คือโปรโตคอลการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต ที่ช่วยรักษาข้อมูลผู้ใช้ให้ถูกต้องและสมบูรณ์ อีกทั้งจัดเก็บข้อมูลไว้เป็นความลับระหว่างคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้และเว็บไซต์นั้นๆ แน่นอนว่าผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตต้องการความปลอดภัย รวมถึงความเป็นส่วนตัวระหว่างใช้เว็บ โดยข้อมูลที่ส่งด้วย HTTPS จะได้รับการรักษาความปลอดภัยจากการลักลอบดูข้อมูลด้วยโปรโตคอล ที่ผ่านการเข้ารหัสข้อมูล ความถูกต้องสมบูรณ์ที่ไม่สามารถแก้ไขหรือทำความเสียหายต่อข้อมูลได้ อีกทั้งยังช่วยในการตรวจสอบสิทธิ์ ทำให้ผู้ใช้งานเว็บไซต์มั่นใจและส่งผลดีต่อธุรกิจของคุณ ซึ่งก่อนที่เว็บไซต์ของคุณจะมี HTTPS ได้นั้น ต้องมีใบรับรอง SSL หรือ ssl certificate เสียก่อน
SSL คืออะไร
SSL Certificates เรียกสั้นๆ ว่า SSL (Secure Socket Layer) คือ การเข้ารหัสข้อมูลที่เป็นมาตรฐานความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือที่สุด โดยจะเพิ่มการรักษาความปลอดภัยในการรับส่งข้อมูล ผ่าน URL ที่เป็น HTTPS ทั้งในเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นต่างๆ ที่สำคัญ SSL จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณถูกดักจับข้อมูลยากขึ้นนั่นเอง
สำหรับเว็บไซต์ที่ต้องการใช้ SSL จะต้องขอใบรับรองดิจิทัล SSL Certificates ที่ได้รับการรับรองจาก CA (Certificate Authority) เพื่อเป็นการยืนยันเจ้าของเว็บไซต์ว่ามีตัวตน นอกจากนั้นยังยืนยันความสมบูรณ์ในการเข้ารหัสข้อมูลผ่าน SSL ซึ่งในปัจจุบันมีบริการออกใบรับรองดิจิทัล SSL Certificates ที่หลากหลาย อย่าง Symantec, Thawte, GeoTrust และ Rapid SSL เป็นต้น
นอกจากออกใบรับรอง SSL ผ่านผู้ให้บริการแล้ว คุณยังสามารถใช้บริการจาก Cloudflare ที่มีบริการ SSL ฟรี พร้อมดูแลความปลอดภัยให้แก่เว็บไซต์ของคุณในคราวเดียว ทั้งการป้องกันการโจมตีจาก DDos attack และ Web Application Firewall นอกจากนั้น Cloudflare ยังช่วยในเรื่องความรวดเร็วและประสิทธิภาพการใช้งาน ไม่ว่าเว็บไซต์ของคุณจะมีเนื้อหาแบบ Static content หรือ Dynamic Content ก็ตาม
หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า SSL มีหลายประเภท
แน่นอนว่าเราไม่สามารถแยกประเภทของ SSL Certificate จากการมองเพียงผิวเผินได้ เพราะสิ่งที่เดียวที่ทุกคนสังเกตว่าเว็บไซต์ไหนมี SSL คือ URL Address Bar ที่ขึ้นต้นด้วย HTTPS ใครจะรู้ว่าจริงๆ แล้ว SSL Certificate มี 3 ประเภทด้วยกัน ดังนี้
1. แบบ Domain Validation (DV)
ชนิดใบรับรองความปลอดภัย ที่ออกให้ได้ง่ายที่สุด สามารถอนุมัติได้ไวที่สุด โดยมีขั้นตอนการตรวจสอบน้อย คือ ผู้ให้บริการจะขอตรวจสอบแค่ว่าใครเป็นเจ้าของ Domain หรือชื่อเว็บไซต์เท่านั้น สามารถออกใบรับรองให้ได้ในเวลาไม่กี่นาที หากเป็นเว็บไซต์ที่ใช้ใบรับรอง Domain Validation จะมีสัญลักษณ์สีเขียวและตัวอักษร Secure ขึ้นด้านหน้า
ข้อดี : มีความรวดเร็วในการดำเนินการ
2. แบบ Organization Validation (OV)
ใบรับรองความปลอดภัย สำหรับเว็บไซต์องค์กร เว็บไซต์บริษัท หน่วยงานต่างๆ ที่มีการจดทะเบียนอย่างถูกต้อง ใบรับรองนี้มีขั้นตอนการตรวจสอบที่เข้มงวดมากขึ้น โดยมีวิธีการตรวจสอบดังนี้
1) ตรวจสอบเจ้าของ Domain 2) ตรวจสอบการจดทะเบียนนิติบุคคล 3) มีการโทรศัพท์ตรวจสอบทางองค์กร
ซึ่งประเภท Organization Validation จะมีการระบุองค์กรไว้ในใบรับรองด้วย
ข้อดี : ได้รับความน่าเชื่อถือสูง สามารถยืนยันว่าเป็น Official website ได้ อีกทั้งยังสามารถใช้ยื่นตรวจสอบทางการเงินได้
3. แบบ Extended Validation (EV)
ประเภทสุดท้ายเป็นการตรวจสอบที่เข้มงวดที่สุด เป็นใบรับรองความปลอดภัยสำหรับเว็บไซต์องค์กร เว็บไซต์บริษัท หน่วยงานที่มีการจดทะเบียนอย่างถูกต้อง โดยมีขั้นตอนการตรวจสอบเหมือนกับ Organization Validation แต่จะตรวจสอบข้อมูลในเชิงลึกมากยิ่งขึ้น อย่างเช่น ระยะเวลาที่เปิดบริษัทและข้อมูลเชิงลึกอื่นๆ อีกมากมาย โดยแบบ Extended Validation จะแตกต่างกับ Organization Validation ที่เว็บ Browser ที่จะแสดงชื่อบริษัทหรือองค์กร ในURL Address Bar สามารถเห็นได้จากเว็บไซต์ของธนาคารหรือองค์กรใหญ่ๆ ที่ต้องการความน่าเชื่อถือสูง
ข้อดี : ได้รับความน่าเชื่อถืออย่างมากจากผู้ใช้งานเว็บไซต์ สามารถใช้ยืนยันความเป็น Official Website และระบุตัวตนของเว็บไซต์ รวมถึงใช้ยื่นตรวจสอบกับสถาบันทางการเงินได้
ตัวอย่างจาก เว็บไซต์ธนาคารกรุงศรี
SSL จำเป็นต้องมีหรือไม่
ในยุคปัจจุบัน SSL มีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากทุกวันนี้ "ข้อมูล" เป็นสิ่งสำคัญ ที่ทุกคนไม่ต้องการให้ข้อมูลของตัวเองถูกลักลอบออกไป โดย SSL จะเข้ามาช่วยในเรื่องของความปลอดภัย แม้ว่าจะถูกดักจับข้อมูล ผู้ได้ข้อมูลก็จะไม่มีสามารถอ่านสิ่งที่คุณส่งไปได้ หากไม่มีคำว่า HTTS ไม่เพียงแต่ข้อความสำคัญ User และ Password ก็สามารถถูกขโมยไปได้อย่างง่าย เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ Google แนะนำให้ใช้ HTTPS สังเกตได้จากเวลาที่คุณเข้าใช้งาน Chrome ในเว็บไซต์ที่ไม่มี HTTS จะมีการเตือนด้านหน้าว่าเว็บไซต์นี้ Not Secure อีกทั้ง Goolge ยังเคยประกาศอีกว่า จะเพิ่มคะแนนเว็บไซต์ หากใช้งาน HTTS เพื่อจัดลำดับ Ranking เรียกได้ว่า HTTS ก็มีผลต่อ SEO นั่นเอง
สำหรับผู้ที่สงสัยว่า SSL คืออะไรและมีสำคัญอย่างไร คงจะได้คำตอบกันเรียบร้อยแล้ว และหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่มีเว็บไซต์หรือผู้ดูแลเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ขององค์กร เว็บไซต์บริษัท หรือผู้ที่เพิ่งเริ่มทำเว็บไซต์ที่ต้องการเพิ่มความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ