Sophosผู้นำด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ยุคใหม่ระดับโลก เปิดเผย รายงานสรุปภัยคุกคามประจำปี 2022 โดยภัยหลักๆ จะเป็นภัยที่เกิดจากหลุมดำของตัวแรนซัมแวร์ (ransomware) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘มัลแวร์เรียกค่าไถ่’ ที่สามารถดึงภัยคุกคามทางไซเบอร์อื่น ๆ มารวมกันเพื่อสร้างระบบการส่งต่อแรนซัมแวร์ และเชื่อมต่อไปสู่ระบบอื่น ๆ รวมถึงวิเคราะห์ประเด็นและแนวโน้มหลักที่องค์กรต่าง ๆ ต้องเผชิญ ดังต่อไปนี้
1. แรนซัมแวร์มีแนวโน้มจะกลายเป็นมัลแวร์ทั้งแบบแยกส่วนและเป็นระบบมากขึ้น โดย “ผู้เชี่ยวชาญ” ด้านการโจมตีทางไซเบอร์ จะเสนอรูปแบบการโจมตีเสมือนเป็น “การให้บริการ (as-a-service)” พร้อมให้คู่มือ เครื่องมือ และเทคนิค ที่จะทำให้กลุ่มผู้โจมตีต่างกลุ่มสามารถโจมตีผ่านแรนซัมแวร์ทางไซเบอร์ได้ในรูปแบบเดียวกัน
การโจมตีของกลุ่มแรนซัมแวร์เพียงกลุ่มเดียว สามารถแพร่ให้เกิดการให้บริการการโจมตีเรียกค่าไถ่ (ransomware-as-a-service: RaaS) ได้อีกหลากหลายวิธี โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาแรนซัมแวร์ จะมุ่งไปที่การจ้างโค้ด (code) และโครงสร้างมัลแวร์ที่เป็นอันตราย ให้กับเครือข่ายผู้ที่ต้องการใช้แรนซัมแวร์อื่น ๆ
2. ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้น จะยังคงมีการปรับตัวเพื่อสร้างและแพร่กระจายแรนซัมแวร์ต่อไป
ซึ่งรวมไปถึง การโหลด การดรอป และวิธีการใช้มัลแวร์เน้นปริมาณในรูปแบบอื่น ๆ การเพิ่มการควบคุมผ่าน Initial Access Brokers การใช้สแปม และแอดแวร์ เป็นต้น
3. การใช้วิธีคุกคามหลายรูปแบบจากผู้โจมตีแรนซัมแวร์ เพื่อกดดันเหยื่อให้ยอมจ่ายค่าไถ่ คาดว่าการกระทำในลักษณะนี้จะยังดำเนินต่อไป โดยมีขอบข่ายและความรุนแรงเพิ่มขึ้น
ในปี 2021 กลุ่มผู้ตอบสนองและจัดการภัยคุกคามของ Sophos ได้จัดประเภทกลยุทธ์การกดดันออกเป็น 10 ประเภท ตั้งแต่การขโมยและเปิดเผยข้อมูล ไปจนถึงการขู่ทางโทรศัพท์ การโจมตีแบบการปฏิเสธบริการ (denial of service: DDoS) และอื่น ๆ
4. Cryptocurrency หรือสกุลเงินคริปโตทางดิจิตอล จะกระตุ้นให้เกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์มากขึ้น
อาทิ แรนซัมแวร์ และการขุดคริปโต ซึ่ง Sophos คาดการณ์ว่าแนวโน้มนี้จะยังคงเกิดขึ้นจนกว่า Cryptocurrency ทั่วโลกจะมีการควบคุมที่ดีและเป็นระบบมากขึ้นในอนาคต โดยใช้ประโยชน์จากการเข้าถึงผ่านช่องโหว่และเป้าหมายที่เคยถูกละเมิดจากผู้ปฏิบัติการแรนซัมแวร์มาแล้ว เพื่อติดตั้งการขุดคริปโตลงในคอมพิวเตอร์และเซิร์ฟเวอร์ต่าง ๆ
“แรนซัมแวร์เติบโตได้เพราะความสามารถในการปรับตัวและพัฒนา” ในการสร้างโค้ดที่ซับซ้อนขึ้นและคิดค้นวิธีการเรียกเงินค่าไถ่จำนวนมากจากเหยื่อ กลุ่มบริษัทประกัน และนักเจรจาต่อรองอื่น ๆ รวมถึงการหาเหยื่อคุกคาม ที่จะติดตั้งและแพร่กระจายมัลแวร์ และการฟอกเงินดิจิตอลไปให้ผู้อื่น เป็นต้น
ทั้งนี้ การคุกคามในรูปแบบดังกล่าวถือเป็นการบิดเบือนลักษณะการคุกคามทางไซเบอร์และภัยคุกคามอื่น ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ผ่านการโหลด การดรอป และการใช้ Initial Access Brokers ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแรนซัมแวร์ ที่จะนำไปสู่ ‘หลุมดำ’ ของตัวแรนซัมแวร์ที่จะคุกคามได้อย่างเป็นระบบ”
แนวโน้มอื่น ๆ ที่ Sophos วิเคราะห์ได้ อาทิ:
1. การพบ (และแก้ไข) ช่องโหว่ของ ProxyLogon และ ProxyShell
2.การโจมตีไปที่อุปกรณ์ทดลองการโจมตีของภัยคุกคาม อาทิ Cobalt Strike Beacons, mimikatz และ PowerSploit
3. ภัยคุกคามที่มุ่งเป้าไปที่ระบบต่าง ๆ ของ Linux และคาดการณ์ว่าระบบที่ใช้ Linux เป็นพื้นฐาน ทั้งในส่วน cloud, website และ virtual servers
4.การคุกคามผ่านโทรศัพท์มือถือและการหลอกลวงแบบวิศวกรรมสังคม หรือ social engineering scams
5. การนำ AI มาใช้ในความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์จะดำเนินต่อไปและเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะเป็นแนวทางการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือที่มี เพื่อสร้างระบบการดักจับภัยคุกคามและแจ้งเตือนภัยได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด